วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2556

แบบฝึกหัด3

แบบฝึกหัด 3


1.) Multitasking, Multiuser, Multiprocessing คืออะไร

Multitasking คืออะไร 
            ระบบหลายภารกิจ (Multitasking) หมายถึง ความสามารถของระบบปฏิบัติการ(Operating System) ที่จะควบคุมและดําเนินการใหเครื่องคอมพิวเตอร สามารถจัดสรรทรัพยากรของระบบใหประมวลผลขอมูล หรือทํางานไดหลายงานพรอมกัน 
       ประเภทของ Multitasking 
ระบบ Multitasking สามารถแบงไดเปน 2 ประเภท คือ          
        1. Cooperative Multitasking           
        2. Preemptive Multitasking 
โดยสามารถอธิบายลักษณะของ Multitasking ทั้งสองประเภทไดคราวๆ ดังนี้ 
         1. Cooperative Multitasking: จะเปนระบบที่แตละโปรแกรมสามารถควบคุมการทํางานของ CPU นานเทาไหรก็ได จนกวาจะเห็นสมควรปลอย CPU ใหโปรแกรมอื่นใชบาง (เชน อยูในสภาวะไอเดิล) จึงเปลี่ยนไปใหโปรแกรมอื่นทําการควบคุม CPU ตอไป ระบบที่ทํางานแบบนี้จะมีปญหาคอนขางมาก เนื่องจากโปรแกรมบางโปรแกรมอาจไมยอมคืน CPU ใหแกระบบ ทําใหไมสามารถทํางานอื่นไปพรอมๆกันได 
          2. Preemptive Multitasking: ระบบปฏิบัติการจะควบคุมการทํางานของ CPU โดยตรง และทําการแบงเวลา (Time Slice) ใหแตละโปรแกรมตามความเหมาะสม โดยที่จะไมมีโปรแกรมใดสามารถควบคุม CPU ไวแตผูเดียว เปนวิธีที่มี ประสิทธิภาพสูง และไดรับความนิยมมากในปจจุบั


Multiuser คืออะไร
              Multi-User คือระบบที่ช่วยแยกคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวให้ผู้ใช้สามารถใช้งานพร้อมกันถึง 8 ผู้ใช้งาน แต่ละผู้ใช้จะมีจอ เมาส์ คีย์บอร์ด และกล้องเว็บแคมเป็นของตัวเอง ระบบนี้จะช่วยดึงประสิทธิ์ภาพของเครื่องที่สูญเปล่ามาใช้ได้อย่างเต็มที่ ช่วยลดต้นทุนการจัดซื้อ การบำรุงรักษา รวมทั้งประหยัดพลังงานอีกด้วย


Multiprocessing คืออะไร
               Multiprocessing คือการทำงานเพื่อให้ประมวลผลเร็วขึ้น โดยใช้ CPU ที่มากกว่าหนึ่งตัวเข้ามาทำงานร่วมกัน ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้หลายๆคำสั่งงานในเวลาเดียวกัน โดยที่ระบบปฏิบัติการจะทำหน้าที่เป็นตัวประสานการทำงานของซีพียูที่มากกว่าหนึ่งตัวนี้ให้ทำงานด้วยกันได้เป็นอย่างดี และถึงแม้ซีพียูตัวใดตัวหนึ่งเสีย ซีพียูตัวอื่นก็ยังสามารถทำงานแทนกันได้ ถือเป็นการร่วมประมวลผลของโปรแกรม โดยใช้หน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์มากกว่าหนึ่งเครื่องขึ้นไป
     ระบบประมวลผล หมายความว่า การจัดสรรการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์มากกว่าหนึ่งเครื่องขึ้นไป โดยที่การจัดสรรนั้นสามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา หรืออีกนัยหนึ่งก็คือว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ หลายๆ เครื่องสามารถที่จะทำงานบนโปรแกรมเดียวกันในเวลาเดียวกัน
     ระบบประมวลผลแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
     1. ระบบหลายตัวประมวลแบบแบ่งสัดส่วน (Symmetric Multiprocessing) การทำงานของระบบประมวลผลแบบนี้จะทำการแบ่งสัดส่วนการใช้งานของหน่วยความจำและช่องทางในการรับส่งของข้อมูล อีกทั้ง ระบบปฏิบัติการ (Operating System) ก็ถูกแบ่งใช้กันกับระบบประมวลผลอื่นทั้งหมด หรือในอีกความหมายหนึ่งระบบนี้ ถูกเรียกว่าระบบแบ่งปันทุกอย่าง โดยส่วนใหญ่แล้วระบบนี้จะใช้หน่วยประมวลผลไม่เกิน 16 หน่วย
     2. การประมวลผลขนานกันแบบกลุ่ม (Massively Parallel Processing) ระบบ ประมวลผลแบบนี้สามารถใช้หน่วยประมวลผลมากถึง 200 หน่วยหรือมากกว่านั้น ระบบประมวลผลแบบนี้สามารถที่จะทำงานในโปรแกรมใช้งานเดียวกันได้ โดยที่ แต่ละหน่วยประมวลผลมีระบบปฏิบัติการและหน่วยความจำเป็นของตัวเอง แต่การเชื่อมต่อระหว่างกันในการจัดสรรช่องทางรับส่งข้อมูลนั้น อนุญาตให้สามารถสื่อสารกันได้ระหว่างหน่วยประมวลผล แต่โดยการติดตั้งระบบประมวลผลแบบนี้ จะมีความซับซ้อนยุ่งยากกว่า เนื่องจากจะต้องคำนึงถึงการแบ่งส่วนฐานข้อมูลที่ใช้โดย ทั่วไป ไปยังแต่ละหน่วยประมวลผลและจะทำอย่างไรถึงจะจัดสรรงานให้กับแต่ละหน่วยประมวลผลได้อย่างลงตัว ดังนั้นคนทั่วไปจึงเรียกระบบนี้ว่าระบบที่ไม่แบ่งปันอะไรเลย
     ระบบหลายตัวประมวลนั้น บางครั้งอาจจะทำให้เกิดการสับสนกับระบบการทำงานหลายโปรแกรม (Multiprogramming) ซึ่งจริงๆแล้วการทำงานของระบบหลายตัวประมวลนั้น หมายความว่าโปรแกรมเดียวกันแต่ถูกทำงานโดยหน่วยประมวลผลหลายหน่วย ซึ่งต่างกับระบบการทำงานหลายโปรแกรมที่หมายความว่าหน่วยประมวลผลเดียวสามารถทำงานได้หลายโปรแกรม
     ข้อดีของระบบ Multiprocessing
     ระบบหลายตัวประมวลนั้นทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานและประสิทธิผลที่เพิ่มขึ้น เพราะบางครั้งการทำงานของโปรแกรมอาจต้องการใช้ทรัพยากรอื่นๆ ถ้าหากใช้ตัวประมวลเดียวก็จะทำให้ต้องรอจนกว่าตัวประมวลนั้นจะว่าง จึงสามารถใช้ทรัพยากรได้



2.) Bios คืออะไร

             Bios คือ  ซอฟต์แวร์ขนาดเล็กที่มีชุดคำสั่งที่จำเป็นสำหรับสำหรับบู๊ตระบบตอนเปิดเครื่อง และเป็นตัวควบคุมการทำงานในระดับต่ำสุด ที่ใกล้ชิดกับฮาร์ดแวร์มากที่สุก อีกทั้งรองรับ และตอบสนองการทำงานกับซอฟท์แวร์ในระดับที่สูงขึ้นไป เช่น ระบบปฏิบัติการ ดังนั้นระบบคอมพิวเตอร์จึงมีการแบ่งการทำงานเป็นระดับต่าง ๆ ได้แก่ Hardware (ฮาร์ดแวร์), Bios (ไบออส), (OS) โอเอส และ Application (แอพพลิเคชัน)
Bios1

สำหรับโปรแกรม Bios นี้จะมีหลายบริษัทพัฒนาออกจำหน่าย ไม่ว่าจะเป็น Award, Phoenix และ AMI ซึ่งโดยทั่วไปจะมีประสิทธิภาพในการควบคุม และรองรับการทำงานเหมือน ๆ กันแต่จะต่างกันที่รายละเอียด เช่นความสามารถในการปรับแต่งระบบ หรือค่าต่าง ๆ ซึ่งจะมากน้อยต่างกัน
          ซอฟต์แวร์ Bios จะถูกเก็บไว้ในชิปหน่วยความจำแบบรอม (ROM Chip) จึงมักเรียกกันว่า "รอมไบออส (ROM Bios)" ชนิดแฟลช (Flash Memory) ซึ่งเป็นหน่วยความจำประเภท "นอนโวลาไทล์ (Nonvolatile)" ที่เก็บข้อมูลได้ถาวร ไม่ต้องการไฟเลี้ยง สามารถเขียนข้อมูลใหม่ได้โดยใช้ไฟฟ้าทำให้ง่ายต่อการอัพเดท
            ชิป ROM แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ PROM (Programable ROM), EPROM (Erasable PROM)  และ EEPROM (Electrically Erasable PROM)
         - PROM เป็นหน่วยความจำแบบที่เก็บข้อมูลได้อย่างถาวร และสามารถเขียนข้อมูลได้เพียงครั้งเดียว กระบวนการเขียนทำด้วยกระแสไฟฟ้า และอาจจะทำโดยผู้ขาย หรือผู้ซื้อก็ได้ ต้องมีเครื่องมือพิเศษสำหรับการเขียน PROM
         - EPROM การอ่านหรือการเขียนด้วยกระแสไฟฟ้า เช่นเดียวกับ PROM อย่างไรก็ตาม ก่อนที่ทำการเขียน เซลล์ที่เก็บข้อมูลต้องถูกลบก่อนให้เหมือนกับตอนเริ่มต้น โดยการอาบรังสีอัลตร้าไวโอเลต ดังนั้น EPROM สามารถเปลี่ยนแปลงได้หลายครั้ง ข้อมูลสามารถเก็บได้อย่างไม่มีกำหนด EPROM แพงกว่า PROM แต่ว่ามันมีประโยชน์คือการเปลี่ยนแปลงข้อมูลทำได้หลายครั้ง
         - EEPROM สามารถเขียนได้ตลอดเวลา โดยไม่ต้องบบสิ่งที่มีอยู่ก่อน ข้อมูลไม่สูญหาย และมีความยืดหยุ่นในการเปลี่ยนแปลง EEPROM แพงกว่ามาก EPROM อัพเกรดโดยใช้การ "Flashing" บนชิปจึงถูกเรียกว่า Flash ROM โดยใช้โปรแกรมพิเศษทำการป้อนข้อมูลใหม่ที่ดาวโหลดได้จากผู้ผลิตแล้วบันทึกลงไปบนชิป
          ในปัจจุบัน EEPROM ได้ถูกพัฒนาไปเป็น Flash ROM หรือ Flash Memory สามารถลบ และตั้งโปรแกรมใหม่ได้ด้วยการใช้ไฟฟ้า แต่แทนที่จะต้องลบข้อมูลเดิมทั้งหมดออกก่อน Flash ROM สามารถแก้ไขข้อมูลที่ตำแหน่งต่าง ๆ ได้โดยตรงทันที ทำให้รวดเร็วกว่าเดิมมาก ซึ่งนิยมนำมาใช้เก็บ Bios ในเครื่องรุ่นใหม่
หน้าที่ของ Bios
          เมื่อเปิดเครื่องขึ้นมาครั้งแรก คอมพิวเตอร์จะยังไม่สามารถทำอะไรได้ จนกว่ามันจะได้รับคำสั่ง ณ ขณะนี้ไมโครโพรเซสเซอร์ก็ยังไม่รู้เลยว่า ตัวเองต้องทำอะไร เพราะไม่มีอะไรให้ประมวลผล ซึ่งในช่วงดังกล่าวนี้ระบบปฏิบัติการเองก็ยังไม่ทำงาน มันยังถูกเก็บอยู่ในฮาร์ดดิสก์ จึงเป็นเหตุให้ต้องมี Bios มาเป็นตัวเริ่มต้นการทำงาน เพื่อให้ระบบสามารถดำเนินการได้ โดยในช่วงของการทำงานตอนเริ่มสตาร์ทเครื่อง Bios มีหน้าที่สำคัญหลัก ๆ ดังนี้
          - Power-on Self-Test (POST) จะเป็นการตรวจสอบส่วนประกอบที่เป็นฮาร์ดแวร์ทั้งหมดในระบบ เพื่อให้แน่ใจว่าทุกส่วนพร้อมใช้งานได้
          - เข้าไปกระตุ้นชิป Bios ตัวอื่น ๆ ซึ่งมักจะเป็นของการ์ดที่ติดตั้งอยู่ภายในเครื่อง เช่น กราฟิกการ์ด, สกัซซี่การ์ด (SCSI) ซึ่งการ์ดเหล่านี้มักจะมี Bios อยู่ด้วย
          - จัดการชุดของงานรูทีนระดับล่าง Bios จะทำตัวเป็นล่ามแปลภาษาระหว่าฮาร์ดแวร์กับซอฟต์แวร์ จะช่วยให้ระบบปฏิบัติการสามารถติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ ได้ดี
          - Bios เป็นซอฟต์แวร์ที่มีอินเทอร์เฟสแสดงรายการสำหรับการตั้งค่าของส่วนต่าง ๆ และสามรถนำข้อมูลไปบันทึกไว้ใน CMOS (ซีมอส) ได้ เช่น วันที่ และเวลา, การตั้งค่าฮาร์ดดิสก์, คล็อค (Clock), ไดรว์ซีดีรอม ฯลฯ


3.) Spooling คืออะไร
           ระบบสพูลลิ่ง (Spooling System)  เมื่อมีการคิดค้นเทคโนโลยีเทปแม่เหล็กมาใช้งานร่วมกับเครื่องอ่านบัตรทำให้มีการ ประสิทธิภาพของซีพียูมากขึ้น แต่ก็เพียงเล็กน้อยเท่านั้นโดยจะจำลองข้อมูลจากบัตรลงบนเทป เมื่อโปรแกรมต้องการอ่านบัตร ระบบปฏิบัติการจะเปลี่ยนไปอ่านที่เทปแทน หรือแม้แต่การพิมพ์ก็โหลดข้อมูลลงบนเทปก่อนแล้วจึงพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์เรียกว่าทุกขั้นตอนจะต้องทำผ่านเทปแม่เหล็กนี้ก่อนทุกงาน ถึงแม้จะทำให้เพิ่มความเร็วของงานได้บ้างแต่ก็มีจุดอ่อนตรงที่โปรแกรมจะต้องทำงานผ่านขั้นตอนต่าง ๆ มากขึ้น จนเมื่อมีการคิดค้นดิสก์ หรือจานแม่เหล็กขึ้นมาช่วยงาน ทำให้หันมาให้งานดิสก์กันมากขึ้นเนื่องจากเหตุผล  ดังนี้ 
         - ถ้าใช้เทปเมื่อทำการประมวลผลข้อมูลในเทปจะทำการโหลดข้อมูลจากเครื่องอ่านบัตร ลงเทปม้วนเดียวกันไม่ได้ 
         - การแอ็กเซสข้อมูลในดิสก์จะทำโดยตรง ในขณะที่การแอ็กเซสข้อมูลในเทปจะเป็นแบบซีเควนเชียล (sequential) หรือเรียงลำดับ 
         - เนื่องจากในดิสก์จะแอ็กเซสข้อมูลโดยตรงและทำงานได้ทันที (โดยมีโปรแกรมพิเศษที่โหลดข้อมูลจากอุปกรณ์พร้อมกับการทำงานของโปรแกรมจากผู้ใช้) แต่สำหรับเทปการโหลดข้อมูลจะต้องทำคนละเวลากับการประมวลผล 
ลักษณะของทำงานของดิสก์กับอุปกรณ์รับ 
        - แสดงข้อมูลที่ต้องคู่ขนานกันไปนี้จะเป็นพื้นฐานของมัลติโปรแกรมมิ่งนั่นเอง ซึ่งอาจจะเรียกว่า “สพูลลิ่ง” (Spooling) ซึ่งมาจากคำว่า Simultaneous Peripheral Operation On – Line ซึ่งหลักการทำงานแบบสพูลลิ่งนี้มีข้อดีที่เห็นได้ชัดเจน 2 ข้อคือ 
       - สพูลลิ่งเป็นระบบสำหรับงานมัลติโปรแกรมมิ่งพื้นฐาน ทำให้มีการใช้ซีพียได้เต็มประสิทธิภาพมากขึ้น โดยจะทำงานพร้อมกันของงาน 2 งาน โดนงานแรกจะประมวลผล ส่วนงานที่สองเป็นการรับ – แสดงผลข้อมูลของอีกงานหนึ่ง (ต่างกับบัฟเฟอร์ตรงที่บัฟเฟอร์จะทำงานพร้อมกันระหว่างประมวลผลกับการรับ – แสดงข้อมูลในงานเดียวกัน) 
       - เนื่องจากมีการแอ็กเซสข้อมูลของดิสก์เป็นแบบโดยตรง ดังนั้นเมื่อมีงานส่งเข้ามาจะถูกจัดเป็น jobpool ทำให้ระบบสามารถเลือกได้ว่าจะประมวลผลงานใดก่อนหลังตามลำดับความสำคัญ (Priority) ดังนั้นงานใดที่มีความสำคัญ เช่น งานของผู้บริหารระบบก็จะทำงานนั้นก่อน หรือเลือกอุปกรณ์ใดสนับสนุนงานนั้นก่อน เป็นต้น

วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

แบบฝึกหัด เรื่อง ซอฟแวร์

แบบฝึกหัด

เรื่อง ซอฟแวร์

1. ซอฟแวร์ประยุกต์เกี่ยวข้องกับระบบปฎิบัติการอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
           ซอฟต์แวร์ประยุกร์จะสามารถทำงานบนระบบปฏบัติการหนึ่งๆได้ ถ้าหากระบบปฎิบัติการมีสภาพแวดล้อม (Enviroment) ที่สามารถจัดสรรทรัพยากรของเครื่องให้แก่โปรแกรมประยุกต์นั้นได้ ถ้าหากไม่มีระบบปฏิบัติการหรือระบบปฏิบัติการที่ไม่สนับสนุน โปรแกรมประยุกต์นั้นก็ไม่สามารถที่จะทำงานได้

2. ซอฟแวร์ประเภท Open Source คืออะไร
           Open Source (ภาษาไทย: โอเพนซอร์ส) คือวิธีการในการออกแบบ พัฒนา และแจกจ่ายสำหรับต้นฉบับของสินค้าหรือความรู้ โดยเฉพาะซอฟต์แวร์ โดยโอเพนซอร์ซถูกพิจารณาว่าเป็นทั้งรูปแบบหนึ่งในการออกแบบ และแผนการในการดำเนินการ โดยโอเพนซอร์ซเปิดโอกาสให้บุคคลอื่นนำเอาระบบนั้นไปพัฒนาได้ต่อไป
Open Source จึงเป็นโปรแกรมที่มีนักพัฒนาสร้างขึ้นมา และนำมาแจกจ่ายหรือเปิดโอกาสให้ผู้อื่นเข้ามาร่วมกันพัฒนาโปรแกรมนั้น ๆ ได้ โดยมีการเปิดเผย Source Code และสามารถดาวน์โหลดโปรแกรมไปพัฒนาต่อได้
เพราะฉะนั้น Open Source จึงมีการเติบโตเร็วมาก ๆ เพราะว่ามีผู้สนใจเข้ามาช่วยกันพัฒนาโดยที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายเหมือนโปรแกรมประเภทอื่น ๆ
ลักษณะของโปรแกรมทั่วไป
- Open Source สามารถดาวน์โหลดไปพัฒนาแจกจ่ายได้ฟรี
- Freeware สามารถดาวน์โหลดไปใช้งานได้ฟรี แต่ไม่สามารถพัฒนาโปรแกรมต่อได้
- Free Trial สามารถดาวน์โหลดไปใช้งานได้ฟรี ตามระยะเวลาที่กำหนด หลังจากนั้นจะต้องทำงานซื้อมาใช้งานเท่านั้น
- Shareware จำเป็นต้องซื้อเพื่อที่จะนำเอามาใช้งาน
โปรแกรมที่สร้างขึ้นจะเป็นประเภทไหนนั้น ขึ้นอยู่กับผู้พัฒนาโปรแกรมนั้น ๆ โปรแกรม Open Source ที่เป็นเว็บไซต์ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบของ CMS ที่สร้างขึ้นด้วยภาษา PHP & MySQL ซึ่งภาษา PHP และภาษา MySQL นั้นเป็น Open Source อยู่แล้ว จึงสามารถสร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปที่เป็น Open Source ได้


3.จงบอกประเภทของโปรแกรมยูทีลีตี้ที่คุณรู้จักมาสัก 3 โปรแกรม พร้อมอธิบายการใช้งาน
1.การใช้งานโปรแกรม Scan Disk
ฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์สำคัญในการจัดเก็บข้อมูล ซึ่งการอ่านเขียนบนผิวดิสก์ในบางครั้งอาจ เกิดข้อผิดพลาดขึ้นได้ ถ้าจุดที่ผิดพลาดเป็นไฟล์ข้อมูลไฟล์นั้นอาจเสียหรือใช้งานไม่ได้ดังนั้นโปรแกรม Scandisk ที่บรรจุอยู่ในระบบปฏิบัติการวินโดวส์ สามารถทำการตรวจสอบซ่อมแซมพื้นที่ที่เสียเหล่านั้น กลับมาให้อยู่ในสภาพที่สามารถใช้งานได้ตามปกติ และเป็นโปรแกรมยูทิลิตี้ที่สามารถใช้งานได้ทั้งบน ฮาร์ดดิสก์และแผ่นดิสก์เก็ต การเรียกใช้โปรแกรม Scandisk บน Windows 98 เรียกใช้โปรแกรม Scandisk โดยการกดเลือกที่ Start Menu เลือกที่ Programs และเลือก Accessories เลือกที่ System Tools และเลือก Scandisk ตามรูปตัวอย่าง





เลือกที่ Scandisk เพื่อเริ่มต้นการทำงานของโปรแกรม

รูป การ Scan disk

หน้าตาของเมนูการเลือก Scandisk ซึ่งมีรายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้
Select the drive(s) คือช่องสำหรับเลือกฮาร์ดดิสก์ ที่ต้องการทำการตรวจสอบ Standard จะเป็นการตรวจสอบเฉพาะระบบไฟล์ต่าง ๆ เท่านั้น Thorough จะเป็นการตรวจสอบระบบไฟล์ต่าง ๆ และทำการทดสอบพื้นที่ใช้งานด้วยว่ามี ปัญหาหรือไม่ automatically fix errors เป็นการกำหนดให้ทำการแก้ไขปัญหาที่พบโดยอัตโนมัติ เมื่อพบข้อ ผิดพลาดขึ้น เมื่อเลือกค่าต่าง ๆได้เรียบร้อยแล้วก็คลิกที่ Start เพื่อเริ่มต้นการทำการตรวจสอบฮาร์ดดิสก์ในที่ นี้หากฮาร์ดดิสก์ ไม่ได้มีปัญหาอะไรมากนัก ก็ทำแบบ Standard ก็พอแล้วแต่ถ้าหากเป็นฮาร์ดดิสก์ที่ สงสัยว่าใกล้จะเสีย หรือคิดว่าปัญหาเกิดจาก ฮาร์ดดิสก์แล้ว ให้เลือกที่ thorough ซึ่งจะทำการตรวจสอบ พื้นผิวได้ดีกว่า (แต่ก็จะใช้เวลานานด้วย)
รายงานผลของการตรวจสอบเมื่อสิ้นสุด จะเป็นรายละเอียดต่าง ๆ ของฮาร์ดดิสก์ที่ทำการตรวจสอบ
การจัดระเบียบไฟล์ด้วยโปรแกรม Defragmenter ปกติไฟล์ข้อมูลหรือโปรแกรมต่าง ๆ บนฮาร์ดดิสก์จะถูกจัดเก็บบนพื้นผิวดิสก์กระจัดกระจาย ทั่ว ๆ ไป ซึ่งถ้าส่วนของไฟล์มีการกระจัดกระจายกันมาก ทำให้การอ่านเขียนไฟล์ในแต่ละครั้งหัวอ่าน ของดิสก์จะใช้เวลามากตามไปด้วย ส่งผลให้การทำงานช้าลง ดังนั้นการแก้ไขก็ทำได้ด้วยการจัดเรียง ส่วนของไฟล์ให้เป็นระเบียบ ซึ่งควรจัดทำอย่างน้อยเดือนละครั้ง การใช้โปรแกรม Defragmenter บน Windows 98 เรียกใช้โปรแกรม Disk Defragmenter โดยการกดเลือกที่ Start Menu เลือกที่ Programs และ เลือก Accessories เลือกที่ System Tools และเลือก Disk Defragmenter ดังรูป

เลือกที่ Disk Defragmenter เพื่อเรียกใช้โปรแกรม Defrag
เลือกที่ Drive ที่ต้องการทำ Defrag และกด OK เพื่อเริ่มต้นการทำ Defrag หรืออาจจะเลือกที่ Settings... เพื่อทำการตั้งค่าต่าง ๆ ก่อนก็ได้
การเข้าสู่โปรแกรม Defragmenter บน Windows XP





ข้อควรระวังในการ Defragmenter ขณะที่กำลังทำการ Defrag หากต้องการยกเลิกการทำงาน จะต้องกดที่ Stop เท่านั้นห้ามปิดเครื่อง หรือกดปุ่ม Reset เป็นอันขาด ไม่เช่นนั้นข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ของคุณอาจจะสูญหายได้

2.โปรแกรมที่ใช้ในการป้องกันไวรัส
โปรแกรมป้องกันไวรัส เป็นโปรแกรมหนึ่งที่จำเป็นมากต่อการใช้งานในยุคนี้ เนื่องจากมี การแพร่ระบาดของไวรัสคอมพิวเตอร์อยู่ทุก ๆ ขณะประกอบกับการใช้งานคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ก็จะ มีผู้ใช้งานหลายคน และบ่อยครั้งที่มีการใช้แผ่นดิสก์เก็ตร่วมกันรวมถึงการคัดลอกไปมาระหว่างเครื่อง อื่น ๆ และการใช้งานบนระบบเครือข่าย และอินเทอร์เน็ต สิ่งเหล่านี้ล้วนเสี่ยงต่อการติดไวรัส คอมพิวเตอร์มากขึ้น ยิ่งถ้าหากเครื่องที่ใช้งานของเราไม่ได้ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัส ก็ยิ่งทำให้เกิด ความเสี่ยงในการติดไวรัสได้อย่างง่าย และเมื่อเครื่องติดไวรัสแล้ว ก็คงเป็นเรื่องใหญ่ทีเดียวโดย เฉพาะไวรัสที่มีการทำงานมุ่งทำร้ายข้อมูลสำคัญ ๆ ดังนั้นจึงสังเกตได้ว่าปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์แทบ ทุกคนเครื่องจะมีโปรแกรมป้องกันไวรัสแทบทั้งสิ้น หลังจากที่ได้ทำการติดตั้งโปรแกรมไวรัสแล้วโปรแกรมป้องกันไวรัสดังกล่าวจะทำการโหลด ทุกครั้งเมื่อเปิดเครื่อง และจะทำงานแบบหลบซ่อนอยู่ภายใน หากมีการใช้ดิสก์จากแหล่งอื่นหรือมีการ นำไฟล์อื่น ๆ มาใช้งานและโหลดเข้าไปในเครื่อง โปรแกรมก็จะทำการตรวจสอบว่ามีไวรัสหรือเปล่า หากมีการตรวจสอบพบ ก็จะฟ้องข้อความเตือนให้ผู้ใช้งานทราบทันที
โปรแกรม Norton Antivirus


โปรแกรมกำลังทำหน้าที่ Scan Virus
โปรแกรมไวรัสในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นของ McAfee หรือของ Norton ซึ่งในการติดตั้ง โปรแกรมควรเลือกติดตั้งโปรแกรมใดโปรแกรมหนึ่งเท่านั้น ไม่ควรลงทั้งสองโปรแกรม ลง ในเครื่องเดียวกันเพราะอาจทำให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดีหรือในกรณีที่เครื่องมีโปรแกรมป้องกันไวรัสของ Norton อยู่แล้ว และต้องการลงโปรแกรมป้องกันของ McAfee ก็ควรทำการ Uninstall โปรแกรม ป้องกันไวรัสของ Norton ที่มีอยู่เดิมออกเสียก่อน จากนั้นก็ดำเนินการติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัส ของ McAfee ต่อไป
โปรแกรม McAfee Virus Scan
3.การใช้งานโปรแกรมย่อไฟล์
โปรแกรมย่อไฟล์ (WinZip)
โปรแกรม WinZip ในปัจจุบันเป็น โปรแกรมยูทิลิตี้ตัวหนึ่งที่นิยมใช้กันมากทีเดียวโดยจะทำ การย่อไฟล์ต้นฉบับให้เป็นไฟล์ย่อที่มีขนาดเล็ก นอกจากนี้ยังสามารถทำการย่อไฟล์แบบต่อแผ่นดิสก์ได หลายๆ แผ่น ทำให้สะดวกและประหยัดแผ่นดิสก์รวมทั้งยังสามารถนำไปใช้สำหรับการสำรองข้อมูลที่ ขนาดใหญ่ลงในดิสก์หรือในซีดีรอมได้
การเข้าสู่โปรแกรม WinZip 8.0 คลิกที่ Start > Programs> WinZip 8.0

4. โปรแกรมป้องกันไวรัสมีความสำคัญอย่างไร

โปรแกรมป้องกันไวรัส (Anti-Virus)
ไวรัส สแปม และมัลแวร์ประเภทต่างๆ เป็นภัยคุกคามทางคอมพิวเตอร์อันดับต้นๆ ที่ผู้ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และระบบเครือข่าย ต้องพึงระวังและหาวิธีการป้องกันและกำจัดภัยอันตรายเหล่านี้ เพราะเหล่าไวรัส สแปม และมัลแวร์ ต่างถูกพัฒนาให้ทันต่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ กล่าวคือมีความสามารถและรูปแบบในการโจมตีที่หลากหลายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น การใช้โปรแกรมป้องกันไวรัสจึงเป็นกระบวนการพื้นฐานที่สำคัญในการเฝ้าระวังและคอยกำจัดภัยคุกคามเหล่านี้เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้อย่างปลอดภัย
โปรแกรมป้องกันไวรัส (Anti-Virus)
ในโลกแห่งอินเทอร์เน็ตที่ผู้คนทั่วโลกใช้สำหรับติดต่อสื่อสาร เรียนรู้ ติดต่อธุรกิจนั้น นอกจากคุณประโยชน์มากมายมหาศาลที่เราได้รับแล้วยังมีอันตรายมากมายที่แฝงตัวมาพร้อมกันอีกด้วย โดยที่ตัวเราหรือผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตนั้นไม่สามารถที่จะสอดส่องดูแลหรือคอยระแวดระวังภัยให้กับคอมพิวเตอร์ได้ด้วยตนเอง เพราะฉะนั้น จึงได้มีการคิดค้นและพัฒนาโปรแกรมป้องกันไวรัสเพื่อคอยช่วยเป็นหูเป็นตาอีกทางหนึ่ง โปรแกรมป้องกันไวรัสคือโปรแกรมที่คอยดักจับและทำการกำจัดไวรัสคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมที่ไม่ประสงค์ดีอื่นๆเช่น มัลแวร์ โทรจัน สปายแวร์ เป็นต้น โดยโปรแกรมป้องกันไวรัสนั้นแบ่งออกเป็นสองประเภทหลักๆ ได้แก่
- แอนติไวรัส เป็นโปรแกรมสำหรับตรวจจับและทำลายไวรัสทั่วๆไปที่เข้าหาแฝงตัวอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา
- แอนติสปายแวร์ เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการป้องกันการโจรกรรมข้อมูลจากแฮกเกอร์ รวมถึงช่วยป้องกันสปายแวร์และแอดแวร์ (Adsware) หรือโปรแกรมป๊อปอัพโฆษณาอีกด้วย
หลักการทำงานของโปรแกรมป้องกันไวรัส
โดยส่วนใหญ่แล้วเทคนิคหรือรูปแบบในการทำงานของโปรแกรมตรวจจับไวรัสของแต่ละบริษัทก็จะมีรูปแบบและหลักการทำงานที่คล้ายคลึงและแตกต่างกันไป โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 เทคนิค ดังนี้
1. การตรวจหา (Scanning)
เป็นการสั่งให้ตัวตรวจหาเข้าไปค้นหาไฟล์ที่อาจถูกไวรัสแฝงอยู่ เช่น ไฟล์ที่ถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำหรือฮาร์ดดิสก์ ส่วนเริ่มต้นในการบู๊ต โดยใช้หลักการ Checksum ซึ่งมีหลักในการทำงานคือ ไฟล์ทุกไฟล์จะมีตัวเก็บข้อมูลว่าจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของไฟล์อยู่ที่ใด ตามด้วยข้อมูลของไฟล์และค่า Checksum ตัวตรวจหาจะคำนวณค่า Checksum ของแต่ละไฟล์แล้วนำไปเปรียบเทียบกับค่า Checksum ที่มีอยู่เดิม หากค่า Checksum ที่คำนวณได้กับที่มีอยู่เดิมไม่ตรงกัน นั่นแสดงว่าไฟล์นั้นๆมีไวรัสแฝงตัวอยู่ด้วย นอกจากนี้การตรวจหายังสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่
(1) การตรวจหาประเภท On-access เป็นวิธีตรวจหาไวรัสก่อนที่ไฟล์จะถูกโหลดเข้าหน่วยความจำเพื่อทำการเอ็กซิคิวต์
(2) การตรวจหาประเภท On-demand วิธีที่ผู้ใช้งานสั่งโปรแกรมให้ทำการตรวจหาไวรัสในไฟล์ที่ถูกเก็บอยู่ในหน่วยความจำหรือฮาร์ดดิสก์หรือส่วนเริ่มต้นในการบู๊ตตามแต่ความต้องการของผู้ใช้ ข้อดีของการตรวจหาคือสามารถตรวจหาไวรัสที่แฝงตัวอยู่ในไฟล์ได้ก่อนทำการเอ็กซิคิวต์ (Execute)
2. การตรวจสอบความคงอยู่ (Integrity Checking)
เทคนิคนี้อาศัยตัวตรวจสอบความคงอยู่ (Integrity Checker) ที่เก็บข้อมูลความคงอยู่ของไฟล์ (Integrity Information) เอาไว้สำหรับเปรียบเทียบ ข้อมูลความคงอยู่ของไฟล์นั้นยกตัวอย่างเช่น ขนาดของไฟล์ เวลาแก้ไขครั้งล่าสุด และค่า Checksum เป็นต้น โดยเมื่อไฟล์ที่ถูกเก็บเอาไว้มีการเปลี่ยนแปลงจนเปลี่ยนไปไม่ตรงกับข้อมูลเดิมที่เคยได้เก็บค่าเอาไว้ โปรแกรมจะทำการแจ้งเตือนผู้ใช้งานให้ทราบถึงความผิดปกติและอนุญาตให้ผู้ใช้กู้ไฟล์เดิมที่ยังไม่ติดไวรัสกลับคืนมาได้อีกด้วย ข้อดีของเทคนิคนี้คือ ความผิดพลาดในการตรวจสอบไฟล์ว่ามีการติดไวรัสหรือไม่นั้นเกิดขึ้นได้น้อย อีกทั้งยังสามารถกู้คืนไฟล์กลับคืนมาได้อีกด้วย

3
. การตรวจจับไวรัสโดยการวิเคราะห์พฤติกรรม (Heuristic)
เทคนิคนี้เป็นเทคนิคที่นิยมใช้กันทั่วไปอย่างแพร่หลาย วิธีการทำงานของเทคนิคนี้คือ โปรแกรมจะทำการเปรียบเทียบการทำงานของไวรัสกับชุดกฎฮิวริสติก (Heuristic) โดยชุดกฎนี้จะมีข้อมูลและรูปแบบการทำงานของไวรัสเก็บเอาไว้ จากนั้นโปรแกรมจะนำไฟล์มาจับคู่กับแพทเทิร์นกับชุดกฎที่มีอยู่เพื่อตรวจสอบว่าตรงกันหรือไม่ หากตรงนั่นก็หมายความว่าไฟล์นั้นติดไวรัส โปรแกรมก็จะทำการแจ้งเตือนต่อผู้ใช้งานต่อไป ข้อดีของเทคนิคนี้คือ ระบบจะมีความยืดหยุ่นในการตรวจจับ และระบบจะสามารถเรียนรู้ไวรัสตัวใหม่ๆได้เอง
4. การตรวจจับไวรัสโดยการดักจับ
เทคนิคนี้โปรแกรมกำจัดไวรัสจะมีวิธีการในการดักจับไวรัสโดยการสร้าง Virtual machine (การจำลองการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์) ที่มีความอ่อนแอขึ้นมาเพื่อหลอกล่อให้ไวรัสเข้ามาโจมตี และคอยเฝ้าดูว่ามีโปรแกรมใดบ้างในเครื่องที่ทำงานผิดปกติหรือน่าสงสัย ซึ่งโปรแกรมหรือไฟล์นั้นๆอาจจะมีไวรัสแฝงตัวอยู่ ข้อดีของโปรแกรมนี้คือสามารถหยุดการทำงานของโปรแกรมไวรัสได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

แบบฝึกหัดครั้งที่1


ข้อ1 CDกับDVD คืออะไร
                                                                    แผ่นCD คืออะไร
           แผ่น CD เป็นแผ่นพลาสติกเคลือบที่มีลักษณะเป็นวงกลม มีช่องตรงกลาง ขนาด 4.8 นิ้ว (12 cm.) หนา 1.2 มิลลิเมตร ประกอบด้วยแผ่นพลาสติกทำจากสาร polycarbonate, สารอลูมิเนียม (aluminum) ซึ่งฉีดลงบนแผ่นพลาสติก polycarbonate ให้มีลักษณะเป็นร่องๆ, สารอคีลิค (acrylic) เคลือบบน Aluminium เพื่อป้องกันผิวเลเบล (Label)  แผ่นซีดีโดยทั่วไปที่วางขาย จะมีความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลขนาด 650 MB หรือ 700MB  ต่อแผ่น CD 1 แผ่น  แต่ในบางร้านค้า เราก็สามารถพบเห็นแผ่น CD ขนาดเล็ก เรียกว่า Mini CD  ซึ่งมีความจุอย่างต่ำ 2 MB 

                                                                    แผ่นDVD คืออะไร

          DVD เป็นเทคโนโลยี optical disc ด้วยความจุ 4.7 กิกะไบต์บนด้านเดียว ดิสก์ 1 ชั้น ซึ่งเพียงพอสำหรับภาพยนต์ 133 นาที DVD สามารถเป็น 1 ด้านหรือ 2 ด้าน และสามารถมี 2 ชั้นบนแต่ละด้าน หรือ 2 ด้าน DVD 2 ชั้น จะสามารถบรรจุ 17 กิกะไบต์ของวิดีโอหรือออดิโอ หรือสารสนเทศอื่น เปรียบเทียบกับ 650 เมกกะไบต์ (.65 กิกะไบต์) ของการจัดเก็บสำหรับดิสก์ CD-ROM (เปรียบเทียบกับดิสก์ CD-ROM ที่มีขนาดเดียวกันสามารถเก็บข้อมูลได้ 600 megabyte ดังนั้น DVD สามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่า 28 เท่า)
          DVD ใช้ไฟล์ MPEG-2 และมาตรฐานบีบอัด ภาพ MPEG-2 มีความละเอียด 4 เท่าของ MPEG-1 และสามารถส่ง 60 ฟิลด์ไขว้ต่อวินาที โดย 2 ฟิลด์สร้างภาพ 1 เฟรม (MPEG-1 สามารถส่ง 30 ฟิลด์ไขว้ต่อวินาที) คุณภาพออดิโอบน DVD เปรียบเทียบได้กับคอมแพ็คดิสก์ออดิโอปัจจุบัน
ฟอร์แม็ต
           • DVD-Video เป็นฟอร์แม็ตที่ออกแบบสำหรับภาพยนต์เรื่องยาวเต็มที่ทำงานกับโทรทัศน์
           • DVD-ROM เป็นประเภทของไดรฟและดิสก์สำหรับใช้บนคอมพิวเตอร์ ตามปกติ ไดร์ฟ DVD จะเล่นได้ทั้งดิสก์ CD-ROM และดิสก์ DVD-Video
           • DVD-RAM เป็นเวอร์ชันเขียนได้
           • DVD-Audio เป็นฟอร์แม็ตแทนที่ซีดี
           • มีฟอร์แม็ต DVD บันทึกได้จำนวนหนึ่ง รวมถึง DVD-R สำหรับทั่วไป, DVD-R สำหรับผู้เขียน, DVD-RAM, DVD-RW, DVD+RW และ DVD+R.
         DVD เริ่มแรกย่อมาจาก digital video disc และต่อมาสำหรับ digital versatile disc การย่อทางการของ DVD Forum เป็นฟอร์แม็ตที่จะอ้างอิงเป็น DVD

ข้อ2 Thumb drive, Flash Drive, Handy drive มันแตกต่างกันอย่างไร 
            Thumb drive
            Thumb drive เป็นชื่อทางการค้า คุณสมบัติเหมือน CD-R, Floppy Disk, Hard Disk เป็นหน่วยความจำ ที่เสริมเข้าไปในคอมพิวเตอร์ทาง Port USB และถือเป็นการเก็บข้อมูลรูปแบบใหม่ คือไม่ต้องมีตัว Drive ตัว Disk พกพาได้สะดวกมีขนาดเล็กเท่ากับหัวแม่มือ เป็นยุคแรกๆ ของอุปกรณ์จำพวก Flash Drive ความเร็วในการอ่าน เขียน ประมาณ 500KB/Sec มีความจุอยู่ระหว่าง 8 MB - 1024MB ในปัจจุบันอาจมีมากขึ้น สำหรับราคาในยุคแรกๆ      ราคาสูง ขนาดความจุน้อย

                                                                          Flash Drive
             Flash Drive มีชื่อจริงว่า USB Mass Storage Device ส่วนใหญ่เรียกกันว่า USB Flash Memory Drive , USB Flash Drive Memory หรือ USB Flash Drive การใช้งานเชื่อมต่อกับ Computer ผ่านทาง Port USB ใช้ Flash Memory เก็บข้อมูล ทำงานเป็น Drive เหมือน HardDisk อ่านและบันทึกข้อมูลได้อย่างเดียวไม่สามารถทำอย่างอื่นได้ ซึ่งเป็นยุคต่อมาจาก Thumb drives ราคาถูกลง ความจุมีมากขึ้น ขนาดของตัว Flash Drive เล็กลงด้วย บางยี่ห้อมีขนาดประมาณ 1 นิ้ว

                                                                        Handy drive
            Handy drive เป็นชื่อทางการค้า คุณสมบัติและการทำงานเหมือน Flash drive แต่ที่เพิ่มขึ้นมาคือสามารถเล่นไฟล์ Mp3 ไฟล์วีดีโอ ไฟล์รูปภาพ ฟังวิทยุผ่านช่องเสียบหูฟัง และฟังก์ชันอื่นๆ ที่ผู้ผลิตจะใส่ลงไป ใช้แบตเตอรี่มีทั้งแบบใช้ถ่าน AA , AAA หรือถ่านชาตร์ ซึ่งจะชาตร์ถ่านผ่านทาง Port USB รูปลักษณ์สวยงาม แต่มีขนาดใหญ่กว่า Flash drive เนื่องจากต้องใช้แบตเตอรี่ สำหรับราคาแพงกว่า Flash drive อยู่บ้างเหมาะกับผู้ที่ต้องการใช้งานที่หลากหลาย

ข้อ3 จอภาพแบบ CRT LCD LED OEDคุณภาพแตกต่างกันอย่างไรและใช้กับอุปกรณ์ชนิดใด
                                                                  จอภาพแบบ  CRT 
                 จอภาพแบบ  CRT(Cathode Ray Tube Monitor) คือ จอภาพที่รับสัญญาณภาพแบบอะนะล็อก พัฒนามาจากหลอดภาพโทรทัศน์ด้วยการใช้หลอดภาพในการแสดงผลเช่นเดียวกันคะ จอซีอาร์ที จะทำงานโดยอาศัยหลอดภาพที่สร้างภาพโดยการยิงลำแสงอิเล็กตรอนไปยังที่ผิวหน้าจอ ซึ่งมีสารประกอบของฟอสฟอรัสฉาบอยู่ที่ผิว เมื่อถูกแสงอิเล็กตรอนมากระทบ  สารเหล่านี้เจะกิดการเรืองแสงขึ้นมา ทำให้เกิดเป็นภาพนั่นเอง  หน้าจอแบบ CRT มีความลึกของสีและมีความสดใสของภาพมาก เราอาจเห็นว่า กราฟิคดีไซน์มืออาชีพมักจะเลือกจอภาพแบบ CRT ขนาดใหญ่ๆ (หนักๆ) เพราะให้สีที่ชัดเจน สดใส อิ่มเอมกว่าจอ LCD เยอะ เพราะการออกแบบภาพกราฟิคนั้นจำเป็นต้องเน้นเรื่องสีมากเป็นพิเศษ

                                                                จอภาพแบบ LCD
                จอภาพแบบ LCD (Liquid crystal display) หรือจอภาพแอลซีดี  คือ จอแสดงผลแบบ (Digital ) ที่ใช้วัตถุที่เป็นผลึกเหลว (liquid crystal) แทนการใช้หลอดภาพในจอซีอาร์ที และใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ในการผลิตแสงสว่าง จึงทำให้จอภาพแอลซีดีใช้พลังงานไฟฟ้าน้อยกว่าจอแบบซีอาร์ทีประมาณหนึ่งในสามเลยคะ  โดยภาพที่ปรากฏขึ้นเกิดจากแสงที่ถูกปล่อยออกมาจากหลอดไฟด้านหลังของจอภาพ (Black Light) ผ่านชั้นกรองแสง (Polarized filter) แล้ววิ่งไปยัง คริสตัลเหลวที่เรียงตัวด้วยกัน 3 เซลล์คือ แสงสีแดง แสงสีเขียว และแสงสีนํ้าเงิน กลายเป็นพิกเซล (Pixel) ที่สว่างสดใสเกิดขึ้น

                                                                  จอภาพแบบ LED

               จอภาพแบบ LED คือการใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์  ประมวลผลคำสั่ง  เพื่อให้ไฟLed  แสดงสีออกมา  ลักษณะของจอLED  จะมีไฟLEDเล็กๆเรียงกันอยู่  การให้ภาพและสีสัน  จะสดใส  คมชัดกว่าการยิงภาพสมัยก่อน  ที่ใช้หลอดภาพ  หรือ LCD  ธรรมดาที่เป็นกระจกแผ่นฟิลม์

                                                                จอภาพแบบ OED
              จอภาพแบบ OED screen มีขนาดหน้าจอที่ใหญ่ถึง นิ้ว และความละเอียดที่ 960×544 pixel มีระบบ sixaxis มีกล้องหน้าหลัง จอแบบสัมผัส และรองรับระบบ 3G  





....................................................................................................................
ชื่อ  นางสาวเยาวลักษณ์  เสียงวังเวง  สาขาการบัญชี ปวส.1/1 กลุ่มเรียน อังคาร 6-9